• December 26, 2024

ไขข้อสงสัย โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ม.33

หลังจากสำนักงานประกันสังคม และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน และเปิดให้ยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 เป็นต้นมา (รอบแรก) ภายใต้วงเงิน 30,000 ล้านบาท

ธอส. เปิดรอบเก็บตก ผู้ประกันตน ม.33 อยากมีบ้าน ขอรหัสสินเชื่อตั้งแต่ 8 พ.ค.

ขยายเวลาสินเชื่อซื้อบ้านดอกเบี้ยถูก ผู้ประกันตนม.33 เริ่ม 8-31 พ.ค.นี้

ล่าสุด 8 พฤษภาคม 2566 ธนาคารได้เปิดให้ผู้ประกันตน ม.33 ได้ขอรับรหัสเข้าร่วมโครงการอีกครั้งหลังงบประมาณเหลือ ทำให้มีคำถามจากผู้ประกันตนว่า โครงการฯ ครั้งนี้ มีเงื่อนไข แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร โดยทีมข่าวพีพีทีวี รวบรวมคำถามที่ผู้ประกันตนและคำตอบจาก ธอส. มาให้

1.หากต้องการเข้าร่วมโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง หลักเกณฑ์เหมือนกับโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนรอบแรกหรือไม่

  • หลักเกณฑ์และเอกสารการยื่นกู้ที่เป็นไปตามเงื่อนไขเดิม ประกอบด้วย 1.หนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน 2.เอกสารส่วนตัว 3.เอกสารแสดงรายได้ 4.เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน โดยครั้งนี้ธนาคารเปิดให้ผู้ประกันตน มาตรา33ขอรับรหัสเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมเนื่องจากวงเงินยื่นขอสินเชื่อยังไม่เต็มกรอบวงเงินของโครงการ (30,000ล้านบาท)

2.คนที่ยื่นกู้ไปครั้งแรกในโครงการนี้ แต่ไม่ผ่าน ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใด และถ้าคนเดิมยื่นกู้ในรอบนี้สามารถขอกู้ได้หรือไม่

  • ผู้ที่ยื่นกู้ในโครงการในรอบแรกไม่ผ่านนั้น สาเหตุ จากวงเงินกู้เกินกว่าหลักเกณฑ์ที่โครงการกำหนด (วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกินยอดเงินต้นคงเหลือและไม่เกิน 2,000,000 บาท)โดยผู้ประกันตนที่เคยมายื่นในรอบแรกสามารถขอรับรหัสเข้าร่วมโครงการและยื่นขอสินเชื่อได้ หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โครงการกำหนดได้

3.หากเข้าร่วมโครงการแล้ว ต้องอยู่กับสัญญาของธอส.ตลอดระยะสัญญา 30-40 ปีเลยหรือไม่ ผู้กู้สามารถขอรีไฟแนนซ์ หรือ ขอรีเทนชั่น หลัง 5 ปีแรกที่เข้าร่วมโครงการได้หรือไม่

  • กรณีผู้กู้ขอไถ่ถอนจำนองไปสถาบันการเงินอื่นได้ สามารถดำเนินการได้หลังจาก 3ปี โดยไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่หากผู้กู้ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับ ธอส. สามารถดำเนินการได้ เมื่อบัญชีเงินกู้เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย

4.หากบ้านหลังที่ผ่อนอยู่ ทำสัญญากู้ร่วม หากจะขอเข้าร่วมโครงการนี้ ผู้ใช้สิทธิ์ต้องขอรหัสเข้าร่วมโครงการ 2 คนหรือไม่ หรือ แค่คนใดคนหนึ่งได้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ขอรับรหัสเข้าร่วมโครงการได้และต้องถือกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน

5.หากปัจจุบันผู้กู้ติดสัญญากับธนาคารอื่นอยู่ แต่อยากเข้าโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน สามารถฉีกสัญญาเก่า ยอมโดนเสียค่าปรับเพื่อเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่ อย่างไร

  • สามารถเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้แต่ทั้งนี้ ผู้ประกันตน มาตรา 33 ควรพิจารณาเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินเดิมก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่

6.ผู้กู้ได้เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ช่วงโควิด จึงมีดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ หากต้องการเข้าโครงการนี้สามารถเข้าร่วมได้หรือไม่ จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยที่คงค้างก่อนหรือไม่ อย่างไร

  • สามารถขอเข้าร่วมโครงการได้ โดยผู้กู้เดิมของธอส. หากมีดอกเบี้ยเงินกู้พักชำระที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรการโควิด สามารถทยอยชำระหนี้กับธอสคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ได้

7.ขอรายละเอียดโครงการสินเชื่อกู้ซื้อบ้านใหม่ ดอกเบี้ยต่ำของธอส.

-โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5 ปีแรกเท่ากับ 3.00% ต่อปี ปีที่ 6-7 เท่ากับ MRR-2% ต่อปี และปีที่ 8 ถึงตลอดอายุสัญญา กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป เท่ากับ MRR-0.75% ต่อปี กรณีลูกค้าสวัสดิการ เท่ากับ MRR-1% ต่อปี และกรณีกู้เพื่อซื้ออุปกรณ์ฯ เท่ากับ MRR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ของธนาคาร อยู่ที่ 6.65% ต่อปี) วัตถุประสงค์เพื่อกู้บ้านราคาซื้อ-ขาย/ค่าก่อสร้างและวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 1,500,000 บาท ทั้งประเภทบ้าน หรือห้องชุด (คอนโดมิเนียม) ทั้งที่เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ หรือบ้านมือสอง และทรัพย์ NPA ของ ธอส. หรือเพื่อปลูกสร้าง และซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยพร้อมซื้อบ้านหรือห้องชุด

-โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก ปี 2566 อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1= 3.90%ต่อปี ปีที่ 2=MRR-4.30%ต่อปี ปีที่ 3= MRR-1.85%ต่อปี ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีสวัสดิการ= MRR-1.00%ต่อปี กรณีรายย่อย= MRR-0.75%ต่อปี กรณีอุปกรณ์ฯ= MRR วัตถุประสงค์เพื่อซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก

8.ขอโครงการสินเชื่อสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองดอกเบี้ยต่ำของธอส.

-โครงการบ้านอยู่เย็น เป็นสุข อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1= 2.90%ต่อปี ปีที่ 2=MRR-2.90%ต่อปีปีที่ 3= MRR-2.15%ต่อปี ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีสวัสดิการ= MRR-1.00%ต่อปี กรณีรายย่อย= MRR-0.50%ต่อปี กรณีอุปกรณ์ฯ= MRR วัตถุประสงค์เพื่อซื้อ / ปลูกสร้าง / ปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อให้มีระบบพลังงานทดแทน หรือระบบช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โดยใช้แบบบ้านรักษ์โลกของธนาคาร

-โครงการสินเชื่อบ้านสร้างสมใจ ปี 2566 แบ่งเป็น 2 แบบ

1. แบบที่ 1 วัตถุประสงค์เพื่อปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม โดยกลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านที่มีข้อตกลงกับธนาคาร และกู้เพิ่มเพื่อปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซม และไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น (รีไฟแนนซ์) พร้อมปลูกสร้าง อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1 = MRR-3.00% ปีที่ 2 = MRR-2.00%ต่อปีปีที่ 3= MRR-1.90%ต่อปี ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีสวัสดิการ= MRR-1.00%ต่อปี กรณีรายย่อย= MRR-0.50%ต่อปี

2. แบบที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม และกู้เพิ่มเพื่อปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซม และไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น (รีไฟแนนซ์) พร้อมปลูกสร้าง อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 = MRR-3.00% ปีที่ 2 = MRR-1.90%ต่อปีปีที่ 3= MRR-1.70%ต่อปี ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา กรณีสวัสดิการ= MRR-1.00%ต่อปี กรณีรายย่อย= MRR-0.50%ต่อปี