• December 21, 2024

‘ธนาคาร-นอนแบงก์’เด้งรับมาตรการธปท. พร้อมแก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากที่ ธปทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนนั้น ทางธนาคารพาณิชย์ได้ให้ความร่วมมือผลักดันมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนและพร้อมดำเนินการตามนโยบาย ธปท. เริ่มจากการให้สินเชื่อย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เริ่มวันที่ 1 ม.ค. 67 และมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง เริ่มวันที่ 1 เม.ย. 67 รวมถึงปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยง และกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (ดีเอสอาร์) ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกันเพิ่มเติม

ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัว แต่ ธปท. ได้มีมาตรการดูแลหนี้เหมาะสมอย่างยั่งยืน หนี้เสียแก้ไขได้ หนี้บุคคล หนี้เกษตร แก้หนี้เรื้อรังปิดจบหนี้ได้ หนี้ใหม่ให้มีคุณภาพไม่กลายเป็นปัญหาหนี้เอ็นพีแอลและหนี้นอกระบบ ส่วนในอีก 30% ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ ทำให้การแก้ไขหนี้ครัวเรือนบูรณาการมากขึ้น และต้องไปหารือพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สหกรณ์ เป็นต้น

นายวิทัย รัตนากร ประธานสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า การที่หนี้ครัวเรือนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหารุนแรงที่ต้องเร่งแก้ไข มาตรการนี้หวังว่าจะทำให้หนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ และการให้ดอกเบี้ยตามความเสี่ยงจะเป็นการคิดดอกเบี้ยอย่างป็นธรรมมากขึ้น และเชื่อว่าหากดำเนินการตามนี้ หนี้ครัวเรือนจะต่ำกว่า 80% ใน 5 ปี ในส่วนธนาคารออมสิน ไม่มีหนี้เรื้อรังตามนิยามของ ธปท. เป็นหนี้หมุนเวียนตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ลูกค้าเกษตรของ ธ.ก.ส. มี 4.3 ล้านราย ทั้งหมด 10 ล้านสัญญา รวมหนี้ 1.6 ล้านล้านบาท ในนี้มีหนี้บุคคลกับเกษตรกร 6 ล้านสัญญา 3 ล้านราย ที่ลูกค้ามีความเปราะบาง รวมทั้งมีหนี้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ 1.2 ล้านคน ทำให้ ธ.ก.ส. ได้ออกสินเชื่อแทนคุณ วงเงิน 20,000 ล้านบาท ทั้งหมด 4.2 หมื่นราย โดยให้ทายาทกู้ไปปิดหนี้สูงอายุ ภายในเดือน มี.ค. 67 โดย ธ.ก.ส. จะปฏิบัติตามนโยบายดูแลการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามนโยบาย ธปท.

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ให้ความร่วมมือผลักดันมาตรการของ ธปท. มาโดยตลอด และประคับประคองลูกหนี้ตัวเองจากวิกฤติโควิดมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเห็นด้วยกับการแก้ปัญหนี้ครัวเรือน ตามแนวทางให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ครอบคลุมโฆษณา ให้ข้อมูลครบถ้วน ให้สินเชื่อตรงกับความต้องการและความสามารถชำระหนี้ และไม่กระตุ้นก่อหนี้เกินตัว

ด้านการแก้ไขหนี้เรื้อรัง จะให้สามารถปิดจบหนี้ได้ใน 5 ปี ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี ธนาคารสมาชิกและบริษัทย่อย พร้อมเริ่มดำเนินการแก้หนี้เรื้อรังกลุ่มคนรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อเดือน และจะศึกษาติดตามกำหนดดอกเบี้ยตามความเสี่ยง กำหนดดีเอสอาร์ที่อยู่ระหว่างดูแลหนี้ครัวเรือนเพิ่มเติมของ ธปท.

ขณะที่สมาคมธนาคารไทย กำหนดแนวทางต้องยึด 5 ข้อ คือ การมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมให้มีวินัยทางการเงิน, การแข่งขันอย่างเสรี ไม่ผูกขาด, โปร่งใส เท่าเทียม, ความเหมาะสม อัตราดอกเบี้ยต้องสะท้อนความเสี่ยงที่เป็นจริง และครอบคลุมเข้าถึงที่สามารถนำข้อมูลทางเลือก

นายอธิป ศิลป์พจีการ รองประธานชมรมสินเชื่อส่วนบุคคล กล่าวว่า ที่ผ่านมา ธปท. ได้เชิญชมรมฯ มาพูดคุยถึงมาตรการ ธปท. โดยผู้ประกอบการได้แสดงข้อคิดเห็นและแนวทางต่างๆ ในทางปฏิบัติ ให้บังคับใช้ได้จริง มาตรการนี้ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนอนแบงก์ 70% เช่น พนักงานบริษัท ผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า เป็นกลุ่มที่แตกต่างกับธนาคาร เพราะรายได้ต่ำกว่า และความสามารถชำระน้อยกว่า จึงเลือกผ่อนชำระแบบขั้นต่ำ โดยชมรมสินเชื่อส่วนบุคคลได้สนับสนุนแนวทาง ธปท. เสนอทางเลือก เช่น ลดภาระจ่ายสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อทางเลือกปิดจบได้ระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มดำเนินการรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน