“พิธีฮัจญ์” ศาสนกิจสำคัญของชาวมุสลิม ที่มีอะไรมากกว่าการเดินทางแสวงบุญ
- admin
- 0
พิธีฮัจญ์ คือ 1 ใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมทั้งชายและหญิงที่มีความสามารถทั้งด้านร่างกายและทรัพย์สิน เป็นการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในเดือนซุลฮิจญะฮ์ของทุกๆ ปี (เดือนที่12ของปีฮิจเราะห์ศักราช) ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 2566
รู้จัก “พิธีฮัจญ์”
การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่เก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัย ศาสดาอิบรอมฮีม โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อ อัลลอฮ์ ได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีลผู้เป็นลูกชาย
ร่วมกันทำนุบำรุง “บัยตุลลอฮฺ” ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ์เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์
เมื่อกาลเวลาผ่านไป รูปแบบการทำฮัจย์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอฮได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ “กะบะฮ์” หรือที่เรียกว่า “บัยตุลลอฮฺ” (อาคารทรงสี่เหลี่ยมที่ตั้งอยู่ใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครเมกกะ) เพื่อบูชาในระหว่างการทำฮัจย์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ
จนกระทั่ง มาถึงสมัยของ ศาสดามุฮัมมัดสิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปรอบข้างกะบะฮ์จนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้
ซาอุฯ ไฟเขียว พิธีฮัจญ์ปีนี้ต้อนรับผู้เข้าร่วมหลักล้านเหมือนเดิมแล้ว
ปฏิทินวันหยุดเดือนกรกฎาคม 2566 เช็กเลยวันที่ 31 ก.ค. หยุดไหม
“กรกฎาคม 2566” นักเสี่ยงโชคเตรียมเฮ กองสลากฯ เตรียมออกรางวัล 3 งวด
“พิธีฮัจญ์” ทำอะไรบ้าง
ในการประกอบพิธีฮัจญ์นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลา 3 วัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์หลังจากนั้นจะเดินทางเข้ากรุงเมกกะ เพื่ออฏวาฟเวียนรอบ “กะบะฮ์” อันเป็นเหมือนเสาหลักของชุมทิศ หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะห ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบ 7 เที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จสิ้นพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะอิฮรอม
อย่างไรก็ตามในแต่ละปี จะมีผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิมเดินทางไปยังเมืองมะกะห์ฯ และเมืองมาดีนะห์ฯ เพื่อไปประกอบพิธีฮัจย์ปีละหลายหมื่นคน
ส่วนชาวมุสลิมคนไหนที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้านในวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ เรียกว่า “วันอีดิลอัฏฮา” ซึ่งหมายถึงวันที่จะมีการเชือดสัตว์และแบ่งปันเนื้อให้กับผู้ยากไร้ในยามดุฮา คือยามสามหลังตะวันขึ้นไปจนถึงเที่ยง แต่ชาวไทยใน 5 จังหวัดภาคใต้เรียกว่า “วันรายอ” แปลเป็นไทยตรงความหมายคือ “วันใหญ่” นั่นเอง
เป้าหมายการ “ทำฮัจญ์”
เป้าหมายของการทำฮัจย์มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยขัดเกลาจิตใจและให้เข้าถึงพระเจ้าอย่างแท้จริง เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อองค์อัลลอฮ์ เป็นการฝึกฝนความอดทน หรือเป็นการลดอัตตาของทุกคนลง เพราะไม่ว่าจะเชื้อชาติใด สังกัดลัทธิใด อยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ตาม ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน คือเป็นบ่าวของพระองค์
ดังนั้นการประกอบพิธีฮัจย์จึงถือรากฐานสำคัญของศาสนา แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพและความสมานฉันท์ของประชาคมมุสลิมว่า ไม่ว่าจะอยู่สังกัดใดหรือนิกายใดก็ตาม ต่างก็เป็นบ่าวของพระเจ้า
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, กองส่งเสริมองค์กรศาสนาอิสลาม และกิจการฮัจย์ และ สถานกงศุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์
ภาพจาก : วิกิพีเดียคำพูดจาก เว็บสล็อต ดีที่สุดในไทย